เทคนิคการนำน้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันอโรม่า ไปใช้ในการนวด
น้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันอโรม่า หรือสุคนธบำบัดเป็นศาสตร์การใช้นำ้มันหอมระเหยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการบำบัดแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คือ Aromatherapy ซึ่งเป็นการผสมของศัพท์ 2 คํา คือ
Aroma ซึ่งหมายถึง กลิ่นหอม
Therapy ซึ่งหมายถึง การบําบัด
รวมกันหมายถึง การบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหย
มีการใช้น้ํามันหอมทางการแพทย์มีมากกว่าสี่พันปี โดยเริ่ม จากสมัยอียิปต์ จีน และอินเดียซึ่งตามหลักฐานยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าชนชาติไหนเริ่มใช้น้ำมันหอมระเหยก่อนชาวจีนใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น น้ํามันกุหลาบ มะลิ ขิง และคาโมมายด์ร่วมกับการใช้พืชสมุนไพรต่างๆ เพื่อรักษาและบำบัดโรค ชาวอียิปต์ใช้เครื่องหอมในการบูชาพระเจ้า ใช้น้ำมันหอมระเหยและยางไม้ เช่น เมอร์ (Myrrh) และจูนิเปอร์ (Juniper) กับมัมมี่เพื่อการรักษาสภาพศพไม่ให้เน่า
ชาวอินเดียมีการใช้น้ํามันหอมระเหย ในศาสตร์การแพทย์อายุรเวท เช่น น้ํามันไม้จันทน์ (Sandalwood oil) และเครื่องเทศ รวมถึงกำยานต่างๆ
น้ำมันหอมระเหยได้มีการใช้และพัฒนาเรื่อยมาจนในปี ค.ศ.1910 เมื่อมีนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Rene-Maurice Gattefosse ตั้งชื่อคําว่า “Aromatherapy” หลังจากได้ศึกษาคุณประโยชน์ของ น้ํามันหอมระเหยด้วยตัวเอง โดยการทดลองเริ่มจากได้รับอุบัติเหตุที่มือของเขาเพราะถูกไฟลวก เขาใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ในการรักษาแผล และแผลของเขาสมานได้โดยไม่เกิดรอยแผลเป็น Rene ได้แต่งหนังสือการบําบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยเล่มแรกในปี ค.ศ. 1937 ชื่อ Aromatherapies ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1993
ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สั่งสมมาและการทดลองนับพันๆปี ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัดและรักษานั้นได้ผลดี จึงทำให้น้ำมันหอมระเหยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดโรคตามธรรมชาติ และบำบัดทางด้านอารมณ์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลามอยู่ในขณะนี้
น้ํามันหอมระเหยช่วยปรับสมดุลทางด้านอารมณ์ ลดความเครียด เพิ่มพลังกระตุ้น ทําให้รู้สึกสดชื่น ร่าเริง มีชีวิตชีวา ช่วยทําให้ สงบมีสมาธิ ลดอาการอักเสบ ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และช่วยแก้ปัญหาอาการผิดปกติของร่างกายได้ด้วย จึงได้นำมาใช้ในการรักษาโรคบางอย่าง ตัวอย่างเช่น ใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้ แผลจากน้ําร้อนลวก โรคไขข้ออักเสบ ลดไข้ ฆ่าเชื้อโรค รักษาอาการหลอดลมอักเสบ ลดการอักเสบของสิว ปวดศีรษะ ปวดหัวไมเกรน นอนไม่หลับ โรคพีเอ็ม เอส (PMS, pre-menstrual syndrome) และใช้รักษาความสมดุลย์ของอารมณ์และจิตใจ เช่น ลดความกระวนกระวายใจ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด เศร้าซึม และบรรเทาความเครียด ซึ่งพบว่าใช้บำบัดอาการต่างๆได้ดี ใกล้เคียงกับการใช้ยา
น้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
เป็นน้ำมันที่พืชสร้างขึ้นจากสารขั้นต้น ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนที่สอง สารหอม (aromatic substance) มีหลากหลายชนิด โดยชนิดหลักคือ กลุ่มแอลกอฮอล์ เช่น เกล็ดสะระแหน่ (menthol) พิมเสน (borneol) ยูจีนอล (eugenol) กลุ่มคีโตน เช่น แคมโฟน (camphone) จัสโมน (jasmone) กลุ่มแอลดีไฮด์ เช่น ซิทรัล (citral) ที่พบในน้ำมันตระกูลส้ม เจอรานิอัล (geraniol) กลุ่มเอสเทอร์ เช่น น้ำมันระกำา (methyl salicylate)

น้ำมันหอมระเหยหรือน้ำมันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ
1 คาร์บอน , 2 ไฮโดรเจน, 3 ออกซิเจน

น้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันอโรม่ามีขนาดเล็กมากซึ่งสามารถซึมผ่านผิวหนังและเลือดได้ น้ำมันหอมระเหยอยู่ในสภาพของน้ำมันที่สามารถละลายได้ จึงส่งผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ดี แต่ต้องเป็นน้ำมันแท้ที่ผลิตจากธรรมชาติเท่านั้น แม้ในตลาดจะมีการผสมน้ำมันหอมระเหยกลับน้ำมันที่มีที่มาจากการสังเคราะห์และโครงสร้างเคมีในน้ำมันสังเคราะห์ไม่มีคุณประโยชน์เทียบเท่าน้ำมันธรรมชาติ น้ำมันสังเคราะห์ซึมเข้าร่างกายได้ไม่ดีเมื่อเข้าไปแล้วก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆต่อร่างกายการเลือกใช้น้ำมันอโรม่าแท้จะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้รับประโยชน์สูงสุด
น้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันอโรม่า มีสีแตกต่างกันไป
น้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันอโรม่าสกัดมาจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ดอก เปลือกไม้ ราก ผลใบ เมล็ด ยาง ซึ่งต่างๆเหล่านี้มีคุณสมบัติในการใช้งานแตกต่างกันไป มีจุดเดือดโดยประมาณที่ 25 องศา ระเหยได้ ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายในน้ำมัน และแอลกอฮอล์ เข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ ทางลมหายใจ ทางผิวหนัง และบริโภค

น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติหลากหลาย โดย Gattefossé พบว่ากลิ่นและ สารหอมสามารถใช้เป็นสารต้านพิษต้านไวรัสทำหน้าที่คล้ายวิตามินและฮอร์โมนบางชนิดในปัจจุบันมีการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้เพื่อปรับสมดุลทางด้านสุขภาพกายจิตและวิญญาณจึงมีคำกล่าวว่าเป็นการบำบัดแบบองค์รวม
ธรรมชาติของน้ำมันหอมระเหย คือเป็นสารระเหย (Volatile substance) ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำมัน มีคุณสมบัติละลายหรือเข้ากันได้กับ ส่วนประกอบที่เป็นไขมันของเซลล์ของเยื่อบุต่างๆของร่างกาย ทำให้เยื่อบุต่างๆ เช่น ชั้นผิวหนัง เยื่อบุโพรงจมูก ผนังหลอดเลือด ผนังกั้นหรือเยื่อบุสมอง ยอมให้โมเลกุลของ สารหอมที่เป็นส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย ซึมผ่านและออกฤทธติ์ ต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ เช่น กล้ามเนื้อ ข้อ ไขมัน ประสาท หัวใจ สมอง ตับและอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสรรพคุณของสารที่เป็น ส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นๆ ระยะเวลาการออกฤทธสิ์เมื่อการออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยสิ้นสุดลงก็จะถูกขับออกจากร่างกายออกจากร่างกาย
น้ำมันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกายโดยการซึมผ่านเยื่อบุต่างๆได้ 3 เส้นทางหลัก ดังนี้
1) ระบบย่อยอาหาร (gastrointestinal tract) โดยการบริโภค
2) ผิวหนังและรูขุมขน โดยใช้ทา
3) จมูก โดยการสูดดม
• ซึมผ่านเยื่อบุโพรงจมูก สู่ประสาทรับกลิ่นและเข้าสู่สมอง
• ซึมผ่านถุงลมปอด สู่หลอดเลือดฝอย และเข้าสู่ระบบเลือดไหลเวียนทุกเส้นทาง ยกเว้นการซึมผ่านเยื่อบุโพรงจมูก ทันทีที่น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านเยื่อบุต่างๆ จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองทันที (lymphatic system) จากระบบน้ำเหลือง จะซึมผ่านหลอดเลือดฝอย (capillary) และเข้าสู่ระบบไหลเวียนของเลือด(circulatory system) ในที่สุด

น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อร่างกาย ดังนี้
– มีผลต่อระบบย่อยอาหาร
– มีผลต่อระบบประสาท กระตุ้นความจำ อารมณ์ ช่วยผ่อนคลายหรือกระตุ้นความรู้สึก
– มีผลต่อระบบสืบพันธ์ ฮอร์โมนเพศ รักษาสมดุลของรอบเดือน กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
– มีผลต่อโครงสร้างร่างกาย รักษาแผล สร้างเซลล์ใหม่
– มีผลต่อการรักษาผิว ลดเลือนรอยแผลเป็นหรือใช้สมานแผลเพื่อป้องกันรอยแผลเป็น
– มีผลกระตุ้นการไหลเวียนของระบบเลือด
– ช่วยให้ร่างกายกำจัดของเสียได้ดีขึ้น
– ช่วยเสริมภูมิต้านทานร่างกายและชะลอการเหี่ยวย่นของผิว
– มีผลต่อระบบการทำงานของน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว
– ช่วยผ่อนคลาย กระตุ้นการทำงานของ กล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อย
ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย หรือ น้ำมันอโรม่า
– ลดความเครียด
– เพิ่มพลัง
– กระตุ้นให้รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา
– ช่วยทำให้สงบ มีสาธิ
– นอนหลับสนิทขึ้น
– ลดอาการอักเสบ
– ลดอาการปวด
– ช่วยแก้อาการผิดปกติอีกหลายอย่าง เช่น ลดการติดเชื้อไวรัส หอบหืด พีเอ็มเอส (PMS, pre-menstrual syndrome) อาการกระวนกระวาย ไฟไหม น้ำร้อนลวกไขข้ออักเสบ หลอดลมอักเสบ ลดสิว ลดอาการปวดศรีษะ เป็นต้น
การนำ น้ำมันหอมระเหย มาใช้มีอยู่ 8 วิธี (เรียนรู้วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย)
1. การนวด โดยผสมกับน้ำมันตัวพา (MASSAGE)
2. การสูดดม (INHALATIONS)
3. การแช่น้ำ (BATHS)
4.การเผา-อบห้อง เป็นการอบห้องให้หอม
5. การสูดไอน้ำ (VAPORISATION)
6. การประคบ (COMPRESSES)
7. ใช้ผสมกับเครื่องหอมและน้ำมันหอม
8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว
การเรียนรู้ชื่อของน้ำมันหอมระเหย หรือ น้ำมันอะโรม่า แต่ละตัวมีความสำคัญมาก เพราะบางทีอาจจะมีชื่อเหมือนกัน แต่คุณสมบัติไม่เหมือนกัน เช่นน้ำมันกุหลาบที่ดีที่สุดต้องมาจากบัลแกเรีย และมีชื่อว่า Rose Bulgar (Sosa Damascena) ทำมาจาก The Damask Rose
คุณสมบัติพิเศษของน้ำมันหอมระเหย
– จะระเหย
– มีกลิ่นเฉพาะ
– ไม่เหนียวเหนอะหนะ
– เข้าสู่ร่างกายได้ดี
น้ำมันหอมระเหยหรือน้ำมันอโรม่าทุกตัวจะระเหยได้และความสามารถในการระเหยแตกต่างกันการระเหยได้ดีกลิ่นจะชัดเจนกว่าเราแบ่งการระเหยออกเป็น 3 ระดับ
Top note
Middle note
Base note



การเก็บน้ำมันหอมระเหยต้องมีการเก็บรักษาอย่างดีเพราะนอกจากจะยืดอายุการใช้งานได้แล้วยังช่วยครูคงคุณสมบัติสีและกลิ่นให้คงสภาพและยืดอายุการใช้งาน
วิธีการเก็บรักษา น้ำมันหอมระเหย มีดังนี้
1. เก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดแก้วสีชา สีน้ำเงิน หรือขวดอลูมิเนียม ไม่ควรเก็บในขวดพลาสติกเพราะน้ำมันหอมระเหยบางชนิดละลายพลาสติกได้ ปิดฝาให้มิดชิดอย่าให้อากาศเข้า
2. เก็บในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเก็บให้พ้นแสง
3. ควรมีการติดป้ายระบุชื่อให้ชัดเจนป้องกันการหยิบผิด เข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน เช่น ส่วนผสม ร้อยละการเจือจาง การนำใช้ ไปวันหมดอายุ
4.เก็บให้ห่างจากเปลวไฟหรือจุดกำเนิดไฟ
5. เก็บน้ำมันหอมระเหยให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
– น้ำมันหอมระเหยมีอายุเฉลี่ย 2 ถึง 3 ปี นับแต่วันที่ผลิต เพื่อยืดอายุการใช้งานของน้ำมันหอมระเหยควรเก็บไว้ในที่เย็นที่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือเก็บในตู้เย็น
– น้ำมันหอมระเหยตระกูลส้ม (Citrus) เช่น มะนาว ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุ้ต และตะไคร้หอม จะมีอายุการใช้งานเก็บได้ไม่เกิน 1 ปี
– เมื่อผสมน้ำมันหอมระเหยกับน้ำมันตัวพาอายุการจัดเก็บจะสั้นลงเหลือเพียง 6 ถึง 8 เดือน
เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยที่ยังไม่ได้ผสมให้เจือจางมีความเข้มข้นและระคายเคืองจึงไม่สามารถนำมาทาผิวหนังได้โดยตรง เพราะเมื่อมีความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
– ห้ามบริโภคน้ำมันหอมระเหยทุกชนิดเว้นแต่ได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
– หลังจากใช้น้ำมันตระกูลส้ม (Citrus) ไม่ควรโดนแดดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพราะอาจทำให้ผิวแสบร้อนได้
– ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ