เปิดร้านนวดสปาจะต้องทำอย่างไร
การเปิดร้านสปาให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องจัดทำก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจก็คือแผนธุรกิจและต้องมีการทำการสำรวจวิเคราะห์ตลาด เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจก่อนลงตลาดจริงทุกครั้ง

By Pimjai Lancaster
หลายท่านที่กำลังมองหาช่องทางในการลงทุน เปิดร้านนวดสปา คงจะมีคำถามว่าจะเริ่มต้น เปิดร้านสปาจะต้องทำอย่างไร การเปิดร้านนวดสปาให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องจัดทำก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจก็คือแผนธุรกิจและต้องมีการทำการสำรวจวิเคราะห์ตลาด เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจก่อนลงตลาดจริงทุกครั้ง แม้ธุรกิจนวดเพื่อสุขภาพและสปาจะมีแนวโน้มการเติบโตที่สูง แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน การคิดเองว่าจะดีและเพราะตัวคุณชอบไปใช้บริการสปาบ่อยๆนั้นไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ ธุรกิจนวดสปา เป็นการบริการเพื่อสุขภาพของทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ (body, mind and spirit) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ การนำส่วนประกอบของพืชธรรมชาติมาเสริมคุณประโยชน์ต่อร่างกาย การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การฝึกสมาธิ รวมทั้งการ บริการเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น ที่มีผลต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียงและ สัมผัส ซึ่งถือว่าธุรกิจสปานั้น ขายความรู้สึกและประสบการณ์ล้วนๆ
ก่อนที่จะเริ่มเปิดร้านนวดสปา สิ่งที่ต้องทำคร่าวๆ มีดังนี้
1. ดีไซน์รูปแบบการบริการ
โดยเราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของเราคือใครกำหนดกลุมลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน ลูกค้าเขาอยู่ที่ไหน เขามีรายได้เท่าไหร่ มีไลฟ์สไตล์อย่างไร ชอบอะไร เค้าจะมาใช้บริการเวลาไหน บ่อยแค่ไหน เพราะลูกค้าเป้าหมายจะนำมาซึ่ง การกำหนดราคา และรูปแบบการบริการ แล้วเราจะขายอะไรให้เขา จุดเด่นของธุรกิจเราที่จะตอบความสนองความต้องการของลูกค้าคืออะไร แล้วค่อยมาวางแผนว่าจะเริ่มต้นเปิดร้านสปาประเภทไหน ซึ่งสปาแต่ละประเภทต้องมีใบอนุญาตต่างๆกัน รวมถึงพนักงานผู้ให้บริการต้องมีการขึ้นทะเบียนด้วย
2. กำหนดรูปแบบของการ เปิดร้านสปา
ก่อนที่จะลงทุนเปิดร้านสปา เรามาทำการศึกษาและวางแผนคร่าวๆ ว่า รูปแบสปาควรจะมีลักษณะอย่างไร
รูปแบบของสปาเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย
จากประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกาหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยฯ แบ่งสถาน ประกอบการออกเป็น 3 ประเภท คือ
- สปาเพื่อสุขภาพ การประกอบกิจการเพื่อให้การดูแลและเสริมสร้าง สุขภาพ โดยมีบริการหลัก คือ การนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ และอาจมีบริการเสริมประเภท ต่างๆ อาทิ การทาสมาธิและโยคะ การอบเพื่อสุขภาพ การออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบาบัดและการ ควบคุมอาหาร การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ประกอบด้วย ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขข้างต้น ได้กาหนดเพิ่มเติมไว้ว่า กิจการฯ ต้องมีบริการหลัก และให้มีบริการ เสริมอื่นอีกอย่างน้อย 3 รายการ อาทิ การพอกโคลน การเสริมสวยโยคะ การขัดผิว การนวดหน้า การพอกผิวตัว อบซาวน่า อบไอน้ำ ฯลฯ เป็นต้น
- นวดเพื่อสุขภาพ การนวดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเน้ือ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การดึง การประคบ การอบ การนวดแผนไทย (ที่ไม่ใช่การรักษาโรค) เช่น การนวดเพื่อสุขภาพ และการนวดฝ่าเท้า เป็นต้น
- นวดเพื่อเสริมความงาม หมายถึง การประกอบกิจการนวดในสถานท่ีเฉพาะ เช่น ร้านเสริมสวย หรือ แต่งผม โดยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงาม ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการ อื่นตามศิลปะการนวดเพื่อความสวยงาม
ทั้งนี้กิจการทั้ง 3 ประเภทนี้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย คือ พรบ.การสาธารณสุขและ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตาม พรบ. สถานบริการ นอกจากนั้น ในการประกอบกิจการยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม พรบ.ภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ฯลฯ
นวดแผนไทย – การนวดแผนไทย หมายถึง การรักษาโรคโดยสุขสัมผัสและการกดลงบนร่างกายอย่างมีระบบ และจาก การที่นวดแผนไทยสามารถช่วยรักษา/บรรเทาอาการของโรคได้
ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดร้านนวดสปา
ในปัจจุบันกินความหมายกว้างมาก โดยรวมถึงกิจกรรมและบริการอื่นๆ ที่ผ่อนคลาย ร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างความมีสุขภาพที่ดี จึงทาให้เกิดบริการต่อเนื่องหลายประเภทซึ่งถือเป็นกิจกรรม เสริมของสปา อันได้แก่ เสริมสวย ทาผม อาหารแบบสปา (Spa Cuisine) การล้างพิษ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ฯลฯ ความนิยมในธุรกิจสปาไทยช่วยทำให้ผู้บริโภครู้จักและคุ้นเคยกับสปาไทยได้อย่างรวดเร็ว
เราต้องทราบขอบเขตในการให้บริการของร้านสปาที่เราจะเปิด เพราะในการเปิดร้านสปาแต่ละประเภทนั้นๆจะต้องทำการยื่นขอใบอนุญาต ซึ่งเมื่อยื่นขอจะต้องมีการระบุประเภทของกิจการลงในใบขออนุญาต และที่สำคัญคือการหาบุคลากรที่จะมาทำงาน


เลือกอุปกรณ์สปาจะมีเครื่องมือ เครื่องใช้อะไรบ้าง ต้องเขียนรายการออกมาให้หมดว่า จะลงทุนซื้ออุปกรณ์พื้นฐานสปา เรื่องมือ เครื่องใช้อะไรบ้าง เพื่อจะได้นำมา
กำหนดแนวทางและแผนธุรกิจ รวมทั้งการเงินต่อไป กำหนดทำเลที่จะเปิดร้านสปา ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ ต้องหาที่เช่าร้าน หรือโลเคชั่นที่ท่านต้องการเปิดสปา สำรวจราคาค่าเช่าที่ ความสะดวกในการเดินทาง สิ่งแวดส้อมว่าเอื่ออำนวยกับธุรกิจหรือไม่
ออกแบบ Theme และ Concept ของสปา ว่าท่านต้องการสื่อสารอะไรกับลูกค้า รูปแบบของสปาเป็นแบบไหน รวมถึงสีสันของร้านว่าจะใช้สีอะไร
กำหนดโครงสร้างขององค์กรว่า คุณจะมีทีมงานจำนวนกี่คน ซึ่งใน
การดำเนินธุรกิจสปก็จะมี
- ผู้ดำเนินการสปา
- พนักงานต้อนรับ
- สปาเธอราพีส
- แม่บ้าน เป็นต้น
ถ้าหากท่านมีทุนในการดำเนินงานเปิดร้านสปา องค์กรของท่านก็อาจจะมีขนาดใหญ่มากกว่านี้ อาจจะมีฝ่ายการตลาด มีเทรนเนอร์ มีผู้ช่วยสปาเธอราพีส มีแพทย์หรือพยาบาล หรือผู้ชำนาญงานด้านสุขภาพและโภชนาการอื่นๆ เป็นต้น
การสรรหาพนักงาน ต้องทราบแหล่งหาพนักงานก่อน และต้องดูความสามารถของพนักงงานด้วยว่าสอดคล้องกับบริการของธุรกิจท่านไหม
การออกแบบและตกแต่งสปา หลังจากได้ Theme และ Concept ของสปา แล้วท่านก็นำข้อมูลดังกล่าวมาออกแบบเพื่อที่จะตกแต่งสปาให้มีลักษณะที่สอดคล้องกัน
การขออนุญาตประกอบธุรกิจสําหรับธุรกิจนวดสปา
จะต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล : ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท:
ผู้ดําเนินการขอจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 และสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั่ วประเทศ
- การขอมีเลขและบัตรประจําตัวผู้เสียภาษี ยื่นขอได้ที่ กรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อขอชําระภาษีได้ที่ สรรพากรเขตหรือสาขา ส่วนต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ สรรพากรอําเภอ หรือที่ www.rd.go.th
- การขอเลขที่บัญชีนายจ้างจากสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ผู้ประสงค์ขอเลขทะเบียนนิติบุคคล สามารถขอเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและเลขบัญชีนายจ้าง ได้พร้อมกัน โดยสามารถยื่นเอกสารและหลักฐานเพียงชุดเดียว ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั่ วประเทศ
โดยทั่วไปการเปิดร้านสปาถือเป็นธุรกิจบริการจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าขายสินค้าอื่นร่วมด้วยต้องจดทะเบียน โดยสามารถศึกษารายละเอียดขออนุญาตได้ที่ www.ismed.or.th หรือที่www.thairegistration.com
ขั้นตอนการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัทจำกัด มี 2 ขั้นตอน คือ
1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
2. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
ขอใขอนุญาตในการดำเนินเปิดร้านสปา
สำหรับเจ้าของ คือ ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานที่ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เบอร์โทร 02- 951-0792-94
ผู้ดำเนินการสปา คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ดาเนินการ
ส่วนผู้ให้บริการการนวดเพื่อสุขภาพ ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหากเป็นการนวดเพื่อบําบัด วินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ผู้ทําการนวดต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต “สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ”จาก คณะกรรมการวิชาชีพ และต้องดําเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น (หากเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ผู้ที่ทําการนวดไม่จําเป็นต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตผู้ประกอบการโรคศิลปะ) ยื่นขอได้ที่ สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือในต่างจังหวัดยื่นที่ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ หรือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
พอได้ข้อมูลข้างต้นคร่าวๆ ก็นำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนธุรกิจได้ค่ะ แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มเปิดร้านสปา แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ แผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทางของธุรกิจ ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาด การแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน
สำหรับท่านที่สนใจลงทุนเปิดร้านสปา หรือท่านที่มีธุรกิจอยู่แล้วและอยากปรับปรุงธุรกิจของท่าน สามารถติดต่อเราทางอีเมลล์หรือ คอมเม้นต์ข้างล่างบทความได้เลยนะคะ ทีมงานสปาบอร์นยินดีให้คำปรึกษาค่ะ และเรายังบริการโค้ชสอนทำธุรกิจสปา และสปาคอนซัลให้กับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจด้วยนะคะ